Siripa_herbal-tropical Wiki
Register
Advertisement

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomso

ชื่อสามัญ : Perfume Tree, llang-llang,Ylang-Ylang

ชื่ออื่นๆ : กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ กระดังงาไทย กระดังงา กะดังงา (ภาคกลาง) สะบันงาต้น สะบานงา สะบานงา (ภาคเหนือ) กระดังงา กระดังงอ (ภาคใต้)

ชื่อวงศ์ : ANONACEAE

ลักษณะทั่วไป


  • ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือกลำต้นของมันจะเป็นสีเทาเกลี้อง
  • ใบ : มีสีเขียวอ่อน ใบบางนิ่ม รูปลักษณะของมันยาว ส่วนปลายแหลม มีติ่ง โคนของใบมน กลมและใบจะออกเรียงสลับห้อยลง
  • ดอก : สีของดอกที่ออกมาใหม่สีเขียว พอแก่จัดก็จะเป็นสีเหลืองอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน ลักษณะของดอกใหญ่ออกทีละ 3-6 ดอก กลีบดอกของมันยาวห้อยลง มีประมาณ 6 กลีบ กลีบชั้นนอก ปลายเรียวยาว ขอบของมันเป็นหยักเป็นคลื่น รูปกลีบแคบ กลีบยาวประมาณ 4-5 นิ้ว กลีบชั้นในจะสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย กลิ่นของดอกมีกลิ่นหอมฉุน
  • ผล : เป็นสีเขียวเข้ม เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลืองคล้ำ ผิวของมันเรียบและผลออกเป็นพวง ประมาณ 4-14 ผล เป็นรูปรี

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์โดยการ ตอนกิ่ง แล้วนำไปปลูก ในดินที่ร่วนซุย หรือดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี

ส่วนที่ใช้ : ดอกที่แก่จัด (สีเหลืองอ่อน)

สรรพคุณ :

  • ในดอกของมันที่แก่จัดนั้นจะมีน้ำมันที่มีคุณภาพดี หรือที่เรียกว่าน้ำมันหอมระเหย เป็น ester เช่น benzoic acid.methyl และ formic. Valerianic.aceric และ penene. Terpene. Linalool. Berzyl alcohol. และ geraniol. Safrol. Cadinene และ ses qui-terpene ประเภทอื่น ๆ ฉะนั้นน้ำมันกระดังงา (oil of Ylong-Ylong) ใช้ปรุงน้ำอบ น้ำหอม เครื่องสำอาง ใช้ทำน้ำเชื่อมหรือปรุงขนมหวาน ต่าง ๆ เช่น ทับทิมกรอบ ข้าวต้มน้ำวุ้น สลิ่ม เป็นต้น และยังใช้ผสมยาน้ำหอมหรือยาอื่น ๆ เช่น แก้ลม บำรุงธาตุ บำรุงเลือด อ่อนเพลีย

อื่นๆ : น้ำมันกระดังงาชนิดที่มีคุณภาพ จะไม่มีสีหรือมีสีก็มีเพียงสีเหลืองเรื่อ ๆ เท่านั้น

ถิ่นที่อยู่ : ปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน เช่น ฟิลิปปินส์ ประเทศพม่า ประเทศไทย เป็นต้น

อ้างอิง : สารานุกรมสมุนไพรไทย

Advertisement