Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement


ชื่ออื่นๆ : กำจาย(เชียงใหม่) , พระเจ้าหามก๋าย, พระเจ้าหอมก๋ายปู่เจ้าหามก๋าย,ปู่เจ้า,คำเจ้า,สลิง ,หามก๋าย (ภาคเหนือ)กำจำ (ภาคใต้),หานกราย (ราชบุรี),ตานแดง (ประจวบคีรีขันธ์,สุราษฎร์ธานี,สงขลา), เป็น (สุโขทัย) ,ประดู่ขาว(ชุมพร), แนอาม(ชอง- จันทบุรี),แฟบ (ประจวบคีรีขัน)มะขามกราย หามกราย ,หนามกราย(ชลบุรี),แสนคำ,แสงคำ สีเสียดต้น (เลย),หอมกราย(จันทบุรี) ,หนองมึงโจ่(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ชื่อสามัญ : -

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia triptera Stapf.

วงศ์ : MELIACEAE




ลักษณะทั่วไป



ต้น : เป็นพรรณไม้ขนายกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 3-10 เมตร ส่วนที่โคน ต้นทางด้านล่าง และจะร่วงโรยไปเมื่อแก่เปลือกจะเรียบมีสีน้ำตาลและ จะมีรอยแตกตาม ความยาวตี้น

ใบ : จะมีลักษะเป็นใบเดี่ยวและเรียงสลับกันหรือตรงกันข้ามกันจะเป็นรูปไข่มีความกว้าง ประมาณ 6-10 ซ.ม. ขนเกลี้ยงเนื้อใบบางคล้ายกระดาษและปลายใบของมันจะแหลมโคนใบ จะสอบ และแคบหรือกลมจะมีต่อมอยู่ 1 คู่ ที่ขอบใบใกล้ ๆ โคนใบ ก้านจะเล็ก เรียวและยาว ประมาณ 0.5-1.2 ซม.

ดอก : จะออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายกิ่งดอกนั้นจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบรองกลีบดอก จะเชื่อมติดกันด้านล่างจะเป็นท่อยาวประมาณ 0.8 มม. ด้านบนจแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ตรงปลายจะแยกเป็นกลีบรูปไข่มี 4-5 กลีบไม่มีกลีบดอก

เกสร : เกสรตัวผู้นี้นจะมีอยู่ 10 อัน และมีก้านเกสรตัวผู้ยาวราว ๆ 3 มม.ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ 1 ช่อง ท่อเกสรตัวเมียจะยาว 2.5 มม.

ผล : มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หรือเบี้ยว และกว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาวประมาณ 1.5-2.5ซม.มีปีก3ปีก เกลี้ยง

เปลือก : จะมีรสฝาด

ถิ่นที่อยู่ : จะพบขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณหรือป่าดงดิบแล้งที่ดินเป็นหินปูน ควอทไซท์ หรือหินชนวน



ส่วนที่ใช้ : เปลือก ใช้เป็นยา



สรรพคุณ : ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและบำรุงหัวใจ รักษาโรคบิค ท้องร่วงใช้รักษาภายนอกโดยการนำมาชะ ล้างบาด แผลเรื้องรัง และห้ามโลหิต



อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

Advertisement