Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement


ชื่ออื่น ๆ : กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) สัมพล (จังหวัดเลย) ข่อย ส้มพ่อ ส้มฝ่อ (หนองคายภาคเหนือ)ขรอย ขันตา ขอย (ภาคใต้)

ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.

วงศ์ : MORACEAE




ลักษณะทั่วไป :



ลำต้น ค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบๆต้น หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจจะขึ้นเป็นต้นเดียว หรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านสาขามาก

ใบ : จะเล็หนาแข็ง ถ้าจับดูทั้ง 2 ด้านจะสากคายคล้ายกับกระดาษทราย ขอบใบจะหยักแบบซี่ฟัน

ดอก : ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอก แบบหัวกลม และมีก้านดอกที่สั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบจะขาว ส่วนดอกตัวเมียนั้นก้านจะยาว และมักจะอกเป็นคู่สีเขียว

เกสร : เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียนั้นจะอยู่ต่างดอกกัน เมล็ด(ผล) เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำส่วนเมล็ดนั้นมีลักษณะเกือยกลมคล้ายเม็ดพริกไท

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด



ส่วนที่ใช้ : เมล็ด ใบ ปลือก และราก



สรรพคุณ :



เมล็ด ใช้รับประทานเป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงธาตุรักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบ จะมีลักษณะสากใช้ขัดเครื่องครัว ใช้ถูเมือกปลาไหลนอกจกนี้นำมาคั่วชงน้ำดื่มก่อนที่จะมีประจำเดือน สำหรับสตรีที่มีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน ใช้บรรเทาอาการปวดได้ หรือใช้ชงน้ำดื่มแทนน้ำชาได้

เปลือก มีรสเมาเบื่อดับพิษในกระดูกและนเส้น รักษาพยาธิผิวหนัง เช่น หุงน้ำมัน ริดสีดวง หรือใช้ต้มใส่เกลือให้เค็มเป็นยาอม รักษารำมะนาดนอกจากนี้เปลือกข่อยทำกระดาษและทราว่าปลวกจะไม่กินกระดาษข่อย ใช้มวนสูยรักษาริดสีดวงจมูก ราก ในเปลือกรากมีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจ (Cardiacglyscosides) มากกว่า?30 ชนิด เช่น asperoside (digitoxigenen-2, 3-di-o-methylglucoside,strebloside)(Strophanthidin-2,3-di-o-me thylfucoside) และ glucostreblide

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

Advertisement