Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement
ควินิน

ควินิน


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinchona pubescens Vahl (Cinchona succirubra Pav. ex Klotzsch)

ชื่อสามัญ : Quinine

ชื่ออื่นๆ : กิมโกยนับ , กิมโกยเล็ก (จีน )

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะทั่วไป[]

ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นสีเขียวตลอดปี และมีความสูงถึง 30 ม. เปลือกต้นนั้นจะเป็นสีน้ำตาล
ใบ : จะออกใบตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะกลมรี ตรงปลายของมันจะแหลมสั้น มีความยาวประมาณ30 ซม. หลังใบจะเป็นสีเขียวเป็นมัน ส่วนท้องใบนั้นจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่า มักจะมีสีแดงและมีขนสั้น ๆ ตามเส้นใบใหญ่
ดอก : ดอกจะออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยจะมีกลีบดอกเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสั้น ตรงส่วนปลายจะแยกเป็น 5 กลีบ กลีบ ดอกจะติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 2.4-3.6 ซม. ตรงปลายของมันจะแยกเป็น 5 กลีบ เป็นสีชมพู
เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน จะติดกับหลอดกลีบดอกส่วนก้านเกสรตัวเมียนั้นจะมีอยู่ 1 อัน และยาว จะพันอยู่ติดกับหลอดดอก ส่วนปลายของมันจะแยกเป็น 2 แฉก
รังไข่ : ภายในรังไข่นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ห้อง
เมล็ด ( ผล ) : ผลจะมีลักษณะกลมรียมีความยาว 2.5-3.2 ซม. เมื่อผลแก่แห้งจะแตกออกเป็น 2 ซึก ภายในจะมีเมล็ดประมาณ 25 เม็ด ลักษณะของเมล็ดจะเป็นแผ่นบาง ๆ สีตาลแดง

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้กิ่งชำหรือเมล็ด ถ้าปลูกเป็นจำนวนมากนิยมปลูกด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ควินิน ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

เปลือกต้น ใช้แห้งประมาณ 3-6 กรัม ต้มกับน้ำ หรือจะบดให้เป็นผงผสมกิน ะมีรสฝาด ใช้รักษาโรคไข้ มาลาเรียเจ็บปาก เจ็บคอและเมาค้าง ควินิน กินครั้งละประมาณ 600 มก. วันละ 3 เวลาติดต่อกันเป็นเวลา 7-10 วัน ใช้รักษาโรคไข้มาลาเรีย

ข้อห้ามใช้

1. คิวนิน ห้ามใช้สำหรับคนที่เป็นไข้มาลาเรียที่มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นสำดำและคนที่เป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรง
2. สำหรับสตรีที่มีครรภ์ห้ามกิน

อื่นๆ :

ในประเทศได้ทำสวนป่าต้นคิวนินที่จังหวัดเชียงใหม่บนดอยสุเทพและได้ตรวจพบปริมารของอัลคลอยด์ในเปลือกอยู่เกณฑ์ที่ใช้ได้

ถิ่นที่อยู่ :

พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาแอนเดส ( Andes ) ของรัฐเอควาดอร์ ( Ecuador ) และรัฐเปรู เป็นพรรณไม้ที่เจริญงอกงามดีในพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000-9,000 ฟุต และต่อมาชาว วิลันดาได้นำพรรณไม้นี้ไปปลูกในประเทศอินโดนีเซีย อังกฤษ อินเดียและศรีลังกา
Advertisement