Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camellia sinensis Ktze.
ชา

ชา

ชื่อสามัญ : Tea, Thea

ชื่ออื่นๆ : เมี่ยง, เมี่ยงป่า (ไทยภาคเหนือ-พายัพ), ชา (ไทยเมี่ยง, เมี่ยงป่า (ไทยภาคเหนือ-พายัพ), ชา (ไทยภาคกลาง)

ชื่อวงศ์ : TERNSTROEMIACEAE

ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้ขนาดย่อมจนถึงขนาดกลาง

ใบ : จะเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะใบจะหนา เหนียวและเป็นจักเล็ก ๆ คล้ายกับใบ ข่อยแต่จะยาวและใหญ่กว่า

ดอก : จะออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก คล้ายกับดอกส้มเขียวหวาน ดอกมีลักษณะใหญ่สีสวย สีขาวนวล และมีกลิ่นหอม

ผล : จะเป็น capsule ในผลหนึ่งนั้นจะมีเมล็ดอยู่ภายในประมาณ 1-3 เมล็ด การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ดเพาะ

ส่วนที่ใช้ : ใบ ใบอ่อน กากชา กากเมล็ด กิ่งและใบ ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

ใบ นำมาต้มเคี่ยวเอาน้ำกิน มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้น ทำให้กระชุ่มกระชวย ไม่ง่วง และยังมีฤทธิ์ฝาดสมานใช้รักษาอาการท้องร่วง ร้อนในกระหายน้ำ และรักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดี บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น นอกจากนี้ใบยังใช้ใส่ลงโลงศพ เพื่อดูดกลิ่นเหม็นจากศพ

ใบอ่อน จะมีรสฝาด หอม หวาน ใช้ยำกินอร่อยมาก นอกจากนี้แล้ว ยังนำมาปรุงแต่งและอบกลิ่นเป็นใบชา

กากเมล็ด จะมีสารชาโปนีน (saponin) มีคุณสมบัติล้างสิ่งต่าง ๆ ได้สะอาดดีมาก และยังใช้สระผมล้างสิ่งสกปรกออกจากผม นอกจากนั้นแล้วน้ำมันที่ติดกากเมล็ดยังช่วยทำให้เส้นผมชุ่มชื้นเป็นมันอีกด้วย

กิ่งและใบ นำมาชงแก่ ๆ ใช้รักษาอาการพิษของยาอันตรายที่เป็นแอลกอฮอล์ต่าง ๆ และยังใช้ทำน้ำยาสมานของกรดแทนนิค ใส่แผลไหม้พอง

อื่น ๆ : ใบอ่อนที่นำมาปรุงแต่งอบกลิ่นใบชา ยังส่งไปขายเป็นสินค้าตามต่างประเทศ ในประเทศไทยเราเรียกว่าต้นเมี่ยง ส่วนมากทางภาคเหนือเป็นที่รู้จักกันมานาน ใบเมี่ยงนี้นำมานึ่งแล้วหมักกับเกลือ ทำเป็นคำ ๆ ใช้อม ทำให้คอชุ่มรักษาอาการกระหายน้ำได้ดีมาก การเก็บใบชา มักจะเก็บแต่ใบอ่อน ๆ แรกผลิออกเป็น 3 ใบเท่านั้น ส่วนการเก็บเมี่ยงนี้มักจะเก็บทั้งใบอ่อนและใบขนาดกลางเท่านั้น

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้เป็นพันธุ์เดิมของประเทศจีน แต่ในประเทศไทยก็มีมาแต่ช้านานแล้ว เคยพบที่จังหวัดพะเยาแต่ไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ แต่ก็มีการปลูกกันประปราย ทางภาคเหนือ


อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

Advertisement