Siripa_herbal-tropical Wiki
Register
Advertisement

มะขามแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina P.Miller

วงศ์ Legumimosae

ชื่ออื่น Alexandria senna, Alexandrian senna,Indian senna, Senna

ลักษณะของพืช ไม้พุ่มสูง0.5-1.5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก ดอกช่อออกที่ซอกใบตรงปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน

ส่วนที่ใช้เป็นยา 

ใบ ถ่ายพิษเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน แก้ท้องผูก ขับลมในลำไส้ ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายแก้พิษไข้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก ฝัก ถ่ายแก้พิษไข้ เป็นยาระบาย แก้ท้องผู้ แก้ริดสีดวงทวารหนัก ขับลมในลำไส้ แก้สะอึก

สรรพคุณและวิธีใช้ สารประกอบทางเคมีที่สำคัญ ในใบและฝักมะขามแขกนั้น คือ  "แอนทราควิโนน"มะขามแขกเป็นยาถ่ายที่มีประวัตินานถึง 100 ปีสาร แอนทราควิโนน นี้จะออดฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ ในการศึกษาพบว่า การใช้มะขามแขกนั้นนานๆ จะทำให้ขาดสารโปแตสเซียม ได้ด้วยถ้าจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ควรรับประทานโปแตสเซียมควบคู่กันไป

การขยายพันธุ์ การเก็บเมล็ดทำพันธุ์ ฝักแก่จะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นน้ำตาลและดำ ถ้าทิ้งไว้กับต้นนานเกินไปฝักจะแตก เมล็ดจะร่วงลงดินหมด ต้องเก็บ ในระยะที่ฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ควรผึ่งในร่ม 1-2 วัน หรือผึ่งจนแห้งแล้วจึงนำไปผึ่งแดด 1 วัน เพื่อให้แห้งสนิทอีกครั้งหนึ่ง ฝักที่แห้งแล้วนำไปเก็บในถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง ปิดปากถุงด้วยเครื่อง ปิดถุง หรือรัดด้วยยางวงให้แน่น เพื่อเตรียมบรรจุหีบห่อและขนส่งต่อไป ผลผลิต ในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ จะเก็บใบมะขามแขกตากแห้งได้ประมาณ 130 กก. และเก็บฝักตากแห้งได้ประมาณ 100-150 กก.

สภาพดินฟ้าอากาศ ควรปลูกในระยะที่มีฝนน้อยเพื่อหลีกเลี่ยง การถูกฝนหนักในระยะที่เป็นต้นอ่อน ในช่วงที่ต้นกำลังเจริญเติบโต ควรมีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่ไม่มีฝน ยกตัวอย่างเช่น ปลูกในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีฝนน้อย เมื่อต้นเจริญเติบโตแล้วจะได้ รับฝนพอเหมาะในเดือนมิถุนายน ออกดอกในเดือนสิงหาคม ซึ่งไม่มีฝนหนัก หลังจากเก็บฝักในเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนตุลาคมแล้ว จึงตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้แตกใบใหม่ในระหว่างที่มีฝนตกหนัก

การปลูก 

ต้องใช้เมล็ดปลูก  หยอดเมล็ดลงไปในหลุมเลยหรือเพาะเมล็ดให้เป็นต้นกล้าก่อนและค่อยย้ายออกไปปลูกในหลุมได้ ในระยะแรกจะต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดี รดน้ำทุกวัน

เอกสารอ้างอิง 

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ.สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 3. 501-502 หน้า

Advertisement