Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement

กะทกรก[]

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olax Scandens Roxb.

ชื่อสามัญ : -

ชื่ออื่นๆ : อังนก น้ำใจใคร่ สอกทอก จากกรด อีทก นางจุม นางชม ผักเยี่ยวงัว

ชื่อวงศ์ :OL

กะทกรก

กะทกรก

ACACEAE

ลักษณะทั่วไป

  • ต้น เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นเป็นเถา ลักษณะลำเถามีหนามขึ้นห่างห่าง เนื้อไม้มีสีขาว
  • ใบ : ใบมีลักษณะปลายใบเรียวแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก เนื้อไม้บาง ลักษณะของใบคล้ายใบมะยม แต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบออกดกทึบ
  • ดอก : ดอกออกเป็นกระจุกตามบริเวณง่ามใบ ดอกมีขนาดสีขาว
  • ผล : ผลมีลักษณะรี หรือกลม มีขนาดเท่ากับเมล็ดบัว

การขยายพันธุ์?: เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณริมปลวก มีการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ เปลือก เมล็ด ราก ใบ

สรรพคุณ :

  • เนื้อไม้ มีรสชาติฝาดเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาคุมธาตุถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด รักษาบาดแผล
  • เปลือก นำมาต้มรมแผลที่เน่าเปื่อย ทำให้แผลแห้ง
  • เมล็ด ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืด ทำให้ผายลม วิธีใช้โดยการ ตำเมล็ดให้ละเอียด และผสมกับน้ำสับปะรดลนควันให้อุ่น
    และใช้ทาท้องเด็ก
  • ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กามโรค
  • ใบ นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อ ขับพยาธิ หรือตำให้ละเอียดเอากากสุมศีรษะ แก้ปวดศีรษะ

ถิ่นที่อยู่ : กะทกรก เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นมากแถวพระบาทจังหวัดสระบุรี จันทบุรี พิษณุโลก ลำพูน

อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

Advertisement