Siripa_herbal-tropical Wiki
Advertisement

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius Linn.

ชื่อสามัญ : Safflower , american Saffron

ชื่ออื่นๆ : คำยุ่ง , คำยอง , คำฝอย , ดอกคำ ( ภาคเหนือ ) , คำ (ทั่วไป)

ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

ลักษณะทั่วไป

ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุนานราว ๆ 1 ปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นนั้นจะเป็นสันผิวจะเกลี้ยง
ใบ : ใบนั้นจะมีหนามขอบใบหยัก มีลัษณะคล้ายซี่ฟัน มีความยาวประมาณ 3-15 ซม. มีความกว้างประมาณ 1-5 ซม ตรงปลายใบของมันจะแหลมหรือมน มีขนเกลี้ยงทั้งสองด้าน ลักษณะเส้นใบจะเห็นได้ชัด
ดอก : ดอกนั้นจะออกเป็นช่อ ก้านดอกจะใหญ่ ผิวจะเกลี้ยงหรือค่อนข้างเกลี้ยง ดอกจะมีเป็นจำนวนมากมีสีส้ม
ผล : ผลแห้ง จะมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับเบี้ยว ๆ มีความยาวประมาณ 6-8 มม. ผลจะมีสีขาวงาช้าง ตรงปลาย ตัดมีสันอยุ่ 4 สัน และมีระยางค์ยาวประมาณ 5 มม. และมีเกล็ด

การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ดอก และเมล็ด ใช้เป็นยา

สรรพคุณ :

ดอก ใช้เป็นยาระบาย ขับเหงื่อ ระงับประสาท บำรุงเลือดขับระดู รักษาอาการบวม รักษาท้องเป็นเถาดาน อาการไข้หลังคลอด ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นยาสามัญประจำบ้าน รักษา อาการป่วยไข้ในเด็ก เป็นยาบำรุงคนที่เป็นอัมพาต
ดอกเป็นยาชง ใช้ดื่มร้อน ๆ รักษา โรคดีซ่าน โรคไข ข้ออักเสบ เป็นหวัดน้ำมูกไหล โรคฮิสทีเรีย ให้ต้มอาบเวลาออกหัด ใช้รักษาอาการคันตามผิวหนัง น้ำแช่ ดอกใช้ล้างตาได้
นอกจากนี้ดอกยังสีส้มหรือสีเหลือง คาร์ธามีน และแซฟฟลาเวอร์ นำมาย้อมผ้า แต่ง สีเครื่องสำอาง แต่งเป็นสีอาหาร ก็ได้
เมล็ด เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และเป็นยาบำรุง เป็นยาพอกเพื่อลดอาการอักเสบของมดลุกหลังการ คลอดบุตร รักษาอาการเป็นลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดยังมีคุณค่าทางอาหารและยา ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ใช้ทารักษาอาการปวดเมื่อยในโรคไข้ข้ออักเสบ รักษาแผล

อื่นๆ :

พรรณไม้นี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของทวีปเอเซีย และได้นำไปปลุกในอิจิปต์และยุโรปตอนใต้ ต่อมา ประเทศไทยเราได้มีการนำมาทดลองปลุกในภาคเหนือของไทย

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเซีย


อ้างอิง : พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม

Advertisement